เมนู

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายบ้านนามว่าปาฏลิยะ
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนา
ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของ
พระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมโดยอเนก
ปริยาย ดุจหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางให้แก่คนหลงทาง หรือ
ส่องไฟในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักแลเห็นรูป ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรมและพระ-
ภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า
เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอด
ชีวิต.
จบ ปาฏลิยสูตรที่ 13
จบ คามณิสังยุต

อรรถกถาปาฏลิยสูตรที่ 13



ในปาฏลิยสูตรที่ 13 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ทูเตยฺยานิ แปลว่า งานทูต เป็นหนังสือก็มี เป็นข่าวสาส์น
จากปากก็มี. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงปรารภคำนี้ว่า
ปาณาติปาตญฺจาหํ ดังนี้ ทรงปรารภเพื่อแสดงความเป็นพระสัพพัญญู
ว่า เรามิได้รู้มายาอย่างเดียว แม้เรื่องอื่น ๆ เราก็รู้อย่างนี้ ๆ. ทรงปรารภ
คำนี้. ว่า สนฺติ หิ คามณิ เอเก สมณพฺราหฺมณา ดังนี้ เพื่อทรงแสดง

ลัทธิของสมณพราหมณ์ที่เหลือ แล้วให้ละลัทธินั้นเสีย. บทว่า มาลี กุณฺฑลี
ความว่า ประดับดอกไม้ด้วยพวงดอกไม้ ใส่ตุ้มหูด้วยตุ้มหูทั้งหลาย. บทว่า
อิตฺถีกาเมหิ ความว่า ความใคร่กับหญิงทั้งหลาย ชื่ออิตถีกาม (ให้
บำเรอตน ) ด้วยอิตถีกามเหล่านั้น. บทว่า อาวสถาคารํ ได้แก่ห้องนอน
ที่ทำไว้ในที่แห่งหนึ่งของเรือนตระกูล เพื่ออยู่สบายสำหรับคนเดียวเท่านั้น.
บทว่า เตนาหํ ยถาสตฺติ ยถาพลํ สมฺภชามิ ความว่า ข้าพระองค์
จะแจกจ่ายห้องนอนนั้น โดยสมควรแก่สติและโดยสมควรแก่กำลัง. บทว่า
อลํ แปลว่า ควร. บทว่า กงฺขนิเย ฐาเน ได้แก่ในเหตุที่น่าสงสัย
ด้วยบทว่า จิตฺตสมาธึ ทรงแสดงว่า ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธิ
นั้นแล้ว พึงกลับได้จิตตสมาธิ ด้วยอำนาจมรรค 4 พร้อมกับวิปัสสนา.
บทว่า อปณฺณกตาย มยฺหํ ความว่า ปฏิปทานี้ย่อมเป็นไปอย่างนี้ เพราะ
เราเป็นผู้ปฏิบัติไม่ผิด คือไม่มีความผิด. บทว่า กฏคฺคาโห แปลว่า
ถือเอาชัยชนะ. บทว่า ธมฺมสมาธิ ในคำว่า อยํโข คามณิ ธมฺมสมธิ
ตตฺร เจ ตฺวํ จิตฺตสมาธึ ปฏิลเภยฺยาสิ
นี้ ได้แก่กุศลกรรมบถ 10.
บทว่า จิตฺตสมาธิ ได้แก่มรรค 4 พร้อมด้วยวิปัสสนา. อีกอย่างหนึ่ง
บทว่า ปามุชฺชํ ชายติ ความว่า ธรรม 5 กล่าวคือความปราโมทย์ ปีติ
ปัสสัทธิ สุข และสมาธิที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ
ดังนี้ ชื่อ ธรรมสมาธิ. ส่วนมรรค 4 พร้อมด้วยวิปัสสนา ชื่อ จิตตสมาธิ.
อีกอย่างหนึ่ง กุศลกรรมบถ 10 ชื่อ จิตตสมาธิ. ข้อว่า พรหมวิหาร 4 นี้

ชื่อธรรมสมาธิ ความที่จิตแน่วแน่ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้บำเพ็ญธรรมสมาธินั้น
ชื่อจิตตสมาธิ. บทว่า เอวํ ตฺวํ อิมํ กงฺขาธมฺมํ ปชเหยฺยาสิ ความว่า
เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าท่านตั้งอยู่ในธรรมสมาธิมีประเภทดังกล่าวแล้วนี้ พึง
กลับได้จิตตสมาธิอย่างนี้ พึงละความสงสัยนี้ได้โดยส่วนเดียว บทที่เหลือ
ในที่ทั้งปวง มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นเทียวแล.
จบ อรรถกถาปาฏลิยสูตรที่ 13
จบ อรรถกถาคามณิสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. จันทสูตร 2. ตาลปุตตสูตร 3. โยธาชีวสูตร 4. หัตถาโรหสูตร
5. อัสสาโรหสูตร 6. ภูมกสูตร 7. เทศนาสูตร 8. อสังขาสูตร
9. กุลสูตร 10. มณิจูฬสูตร 11. คันธภกสูตร 12. ราสิยสูตร
13. ปาฏลิยสูตร.